ตรวจก่อนแต่งงาน...ปัจจัยที่บ่าว-สาวไม่ควรมองข้าม

ตรวจก่อนแต่งงาน...ปัจจัยที่บ่าว-สาวไม่ควรมองข้าม

ในช่วงเวลาแห่งฝันหวาน ของการเตรียมงานแต่งคงไม่มีใครอยาก นึกถึงเรื่องเคร่งเครียด อย่างโรคภัยไข้เจ็บ หลายคนจึงละเลยหรือแกล้ง ลืมไปเสียว่าควรจะตรวจสุขภาพ ทั้งที่ เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งกว่างานเลี้ยงหรูหรา ภาพถ่ายงดงาม แหวนเพชรน้ำหนึ่ง หรือชุดสวยจากห้องเสื้อชั้นนำ เพราะนอกจากหัวใจ สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงก็คือ ของขวัญสูงค่าที่สุดที่คู่รักจะมอบให้กันและกัน ได้ยิ่งไปกว่านั้นยังแสดงถึงความรับผิดชอบ ที่จะไม่นำโรคร้ายมาสู่ครอบครัวและเท่ากับได้ เตรียมความพร้อมสำหรับสมาชิกใหม่ที่จะตามมา

ปัจจุบันโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งไว้บริการว่าที่เจ้า สาว เจ้าบ่าวในราคาที่ไม่สูงจนเกินไปนัก การตรวจขั้นพื้นฐานทั่วไปได้แก่

ตรวจร่างกาย : วัดส่วนสูง : ชั่งน้ำหนัก : และวัดความดัน

ตรวจเลือด : หาหมู่เลือด ดูชนิดของ Rh Factor คนไทยมักมีเลือด Rh+ ในขณะที่เลือดของชาวตะวันตกโดยมากเป็น Rh- แต่คนไทยบางราย อาจมีเลือดเป็นลบ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งเมื่อตั้งครรภ์ หากตรวจพบก่อนแพทย์จะมีวิธีฉีดยา ป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับแม่และทารกได้

ดูลักษณะและจำนวนเม็ดเลือดขาวว่าผิดปกติหรือไม่
ดูน้ำตาลในเลือด หาภาวะโลหิตจาง และหาความผิดปกติของฮีโมโกบิล ที่เป็นสายพันธ์ของเม็ดเลือดแดง
ว่ามีโรคหรือเป็น พาหะของโรคธาลัสซีเมียหรือไม่

หาเชื้อซิฟิลิสและโรคติดต่ออื่น ๆ หาเชื้อเอชไอวีโรคเอดส์ หาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบ หาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันในผู้หญิง ปัญหาที่อาจพบได้จากการตรวจเลือด คือ ชนิด Rh Factor ของทั้งสองฝ่ายไม่เข้ากัน มีภาวะหรือเป็นพาหะของธาลีสซีเมีย มีเชื้อ กามโรค เชื้อเอชไอว เชื้อไวรัสตับอับเสบบี และขาดภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน ซี่งภาวะต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลถึงการครองคู่และการมีบุตร ในอนาคต

ชนิดของ Rh Factor จะ บอกได้ว่าเลือดของคู่บ่าวสาวเข้ากันหรือไม่ คนไทยมักจะมีเลือด Rh+ ในขณะที่เลือดของชาว ตะวันตกโดยมากเป็น Rh+ แต่คนไทยบางรายอาจมีเลือดเป็นลบ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งเมื่อตั้งครรภ์หากตรวจพบก่อน แพทยจะมีวิธีฉีดยาป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับแม่และเด็กได้

สำหรับโรคธาลัสซีเมีย คือ โรคชนิดหนึ่งที่สืบทอดทางพันธุกรรมผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะโลหิตจาง และหัวใจวายได้ง่าย หรือ บางคนไม่แสดงอาการ แต่เป็นพาหะก็มีมาก หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะ อาจไม่ส่งผลถึงบุตร แต่ถ้าบิดามารดาเป็นพาหะทั้งคู่ บุตรจะเสี่ยงต่อโรคนี้ค่อนข้างมาก จึงควรเจาะน้ำคร่ำตรวจเมื่ออายุครรภ์ครบ 4 เดือน เพื่อหาทางแก้ไข

หากตรวจพบเชื้อกามโรคบางชนิด ก็ควรรักษาให้หายขาดเสียก่อนแต่งงาน แต่สำหรับเชื้อเอชไอวี ทำได้เพียง
ป้องกันตัวไว้ก่อน และหวังว่าผลเลือดจะไม่เป็นบวก ส่วนเชื้อไวรัสตับอักเสบบีนั้นอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่ง ติดต่อกันได้
ทาง เพศสัมพันธ์ การจูบ เมื่อปาก มีแผล การใช้เข็ม ของมีคมหรือแปรงสีฟันร่วมกัน สัมผัสใกล้ชิดกับผู้มีเชื้อ รวมถึงทารก อาจรับเชื้อ จากมารดาขณะคลอด โรคตับอักเสบ ทำให้ ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงสูงต่อโรคร้ายแรงอื่น ๆ ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจึงควรรับวัคซีน โดยเริ่มฉีดเข็มแรกแล้วรอหนึ่งเดือนจึงฉีดเข็มที่ 2 แล้ว รออีก 6 เดือนจึงฉีดเข็มที่สาม แล้วแพทย์อาจพิจารณากระตุ้นภูมิคุ้มกันอีก

อีกโรคหนึ่งที่พึงระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงก็คือหัดเยอรมัน เพราะ ถ้าเป็นโรคนี้ขณะตั้งครรภ์ ทารกอาจผิดปกติ ใด้ ผู้หญิงจึงควรฉีดวัคซีนไว้ตั้งแต่ก่อนแต่งงาน และหลังจากรับวัคซีนแล้วต้องรออย่างน้อย 3 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได้

นอก เหนือจากการตรวจขั้นพื้นฐาน อาจถือโอกาสตรวจสุขภาพ อย่างละเอียดด้วยก็ได้ และน่าจะนัดพบสูติแพทย์ เพื่อปรึกษา เรื่องการวางแผนครอบครัวด้วย

การวางแผนครอบครัวนี้ มิใช่จะหมายความถึงการคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมถึงการเตรียมตัว
เพื่อมีบุตรด้วย หญิงสาวส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยงสูติแพทย์เพราะเกรงว่าจะต้องตรวจภายใน ทั้งที่ความจริงสามารถ
คุยกับแพทย์ได้ว่ายังไม่อยาก ตรวจขอเพียงปรึกษาเรื่องการวางแผนครอบครัวเท่านั้น

ว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวควรไปตรวจสุขภาพแต่เนิ่น ๆ หากต้องฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ ป้องกันหัดเยอรมัน หรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็จัดการให้เรียบร้อย พอถึงวันแต่งงาน จะได้มีความสุข สมหวัง สบายใจ ไร้กังวล